วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2559

การแบ่งส่วนตลาด การเลือกตลาดเป้าหมาย และการวางตำแหน่งทางการตลาด

การแบ่งส่วนตลาด การกำหนดตลาดเป้าหมาย และการวางตำแหน่งทางการตลาด : STP
การแบ่งส่วนตลาด(market segmentation:s) การกำหนดตลาดเป้าหมาย (market targeting:t) และการวางตำแหน่งทางการตลาด(market positioning:p) เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน
ทุกวันนี้กิจการต่างๆ ตระหนักอย่างยิ่งว่ากิจการของตนไม่สามารถที่จะจูงใจผู้ซื้อในตลาดได้ทุกรายหรือน้อยมากที่ผู้ซื้อทุกรายจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน จากการที่ผู้ซื้อมีจำนวนมากและอยู่กระจัดกระจายกันผนวกกับความต้องการและการซื้อที่หลากหลายทำให้กิจการต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองให้มีความสามารถมากกว่าเดิมเพื่อที่จะตอบสนองความต้องการในส่วนตลาดต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้นและบางครั้งกิจการอาจต้องขับเคี่ยวกับคู่แข่งขันที่เหนือกว่า แต่ละกิจการจะระบุเฉพาะส่วนตลาดที่คิดว่าเข้าไปแล้วจะสามารถทำกำไรและสนองความต้องการได้ดีที่สุด ดังนั้นทุกกิจการจะต้องเลือกลูกค้าที่ต้องการติดต่อด้วย กิจการแทบทุกแห่งต่างหันมาใช้การแบ่งส่วนตลาด(S) และการกำหนดตลาดเป้าหมาย(T)ด้วยการระบุส่วนตลาด จากนั้นเลือกส่วนตลาดมาหนึ่งส่วนตลาดหรือมากกว่าแล้วนักการตลาดจะพัฒนาในแต่ละส่วนตลาดที่เลือกให้ดีที่สุด
แสดง 3 ขั้นตอนหลักในการตลาดตามเป้าหมาย

ขั้นตอนที่ 1 การแบ่งส่วนตลาด (market segmentation:s) เป็นการแบ่งตลาดๆ หนึ่งออกเป็นกลุ่มผู้ซื้อที่เล็กลงมาโดยแบ่งตามความต้องการ ตามลักษณะตลาด หรือตามพฤติกรรมของคนที่มีความต้องการผลิตภัณฑ์/ บริการ ที่ต่างกันไป

ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดลูกค้าเป้าหมายทางการตลาด(market targeting:t) เป็นการประเมินแต่ละส่วนตลาดที่น่าดึงดูดใจจากนั้นจะเลือกเพียงหนึ่งส่วนตลาดหรือหลายส่วนตลาดที่จะเข้าไป
ขั้นตอนที่ 3 การวางตำแหน่งทางการตลาด(market positioning:p) โดยการกำหนดตำแหน่งทางการแข่งขันสำหรับผลิตภัณฑ์และโดยการสร้างสรรค์หรือออกแบบรายละเอียดในส่วนประสมการตลาด(4p’s)
การแบ่งส่วนตลาด(market segmentation) ตลาดนั้นจะประกอบไปด้วยผู้ซื้อที่มีความแตกต่างกัน กิจการจำเป็นต้องคำนึงถึงความแตกต่างในความต้องการ ทรัพยากร ทำเลที่ตั้ง ทัศนคติในการซื้อ โดยอาศัยการแบ่งส่วนตลาดเข้ามาช่วย ในทางปฏิบัตินักการตลาดจะแบ่งส่วนตลาดที่มีขนาดใหญ่(mass market) ออกเป็นตลาดที่แตกต่างกันอาศัยเกณฑ์ต่างๆ ในการแบ่งส่วนตลาด  จนตลาดดังกล่าวกลายเป็นตลาดที่มีขนาดเล็กลงมาเพื่อให้กิจการสามารถเข้าถึงส่วนตลาดนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดประสิทธิผลกับผลิตภัณฑ์/ บริการที่ตรงตามความต้องการเฉพาะกลุ่มไป

               ระดับของการแบ่งส่วนตลาด (levels of market segmentation)
การตลาดรวม(mass marketing) เป็นการทำการผลิตปริมาณมากๆ (mass production) ทั่วทุกพื้นที่และอาศัยการส่งเสริมการตลาดโดยรวมเพื่อสร้างการติดต่อสื่อสารให้ครอบคลุมทุกหนแห่ง (mass promotion)ด้วยผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่งกับผู้บริโภคทุกราย เช่นเดียวกับที่ครั้งหนึ่งในอดีตบริษัทโคคา-โคลา ผลิตน้ำอัดลมอยู่ขนาดเดียวเพื่อตลาดทั้งหมด
การตลาดแบบแบ่งส่วน(segment marketing) โดยแยกตลาดออกเป็นส่วนตลาดแบบกว้างๆ ที่ทำให้ได้ตลาดมาหนึ่งตลาดจากนั้นจะปรับการปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับความต้องการของส่วนตลาดใดส่วนตลาดหนึ่งหรือเหมาะกันกับหลายส่วนตลาดที่เลือกมา เช่น ตลาดของโรงแรมแมริออท มีหลายส่วนตลาดที่มีความหลากหลาย ได้แก่นักท่องเที่ยวในรูปนักธุรกิจ นักท่องเที่ยวแบบครอบครัว ด้วยลักษณะโดยรวมนี้นำไปสู่ความต้องการที่หลากหลาย


การตลาดกลุ่มย่อย(niche marketing) จะเน้นที่กลุ่มย่อยๆ ที่อยู่ในส่วนตลาด คำว่า กลุ่มย่อย(niche) คือกลุ่มที่ถูกระบุไว้ให้แคบลงไป โดยปกติกลุ่มจะถูกระบุขึ้นมาด้วยการแบ่งส่วนตลาดหนึ่งส่วน ให้เป็นตลาดส่วนย่อย หรือระบุขึ้นมาด้วยการกำหนดกลุ่มตามลักษณะเฉพาะของกลุ่มที่แสวงหาผลประโยชน์เดียวกัน เช่น ยานพาหนะเพื่อประโยชน์ใช้สอย หมายความถึงรถบรรทุก (หรือรถปิกอัพ) และรถสปอร์ต (หรือรถเก๋ง) โดยที่รถสปอร์ต ถูกแบ่งเป็น รถยนต์มาตรฐาน เช่น Honda / Toyota และแบบรถยนต์หรูหรา Benz / BMW  โดยตลาดกลุ่มย่อยจะมีคู่แข่งขันเพียงไม่กี่ราย

การตลาดจุลภาค(micromarketing) เป็นการออกแบบหรือกำหนดผลิตภัณฑ์และโปรแกรมทางการตลาดให้เหมาะสมกับรสนิยมของบุคคลแต่ละคนในแต่ละแหล่ง การตลาดจุลภาค จึงรวมความถึง การตลาดท้องถิ่น (local marketing)และการตลาดรายบุคคล(individual marketing)ด้วย

การตลาดท้องถิ่น(local marketing)

         

การตลาดรายบุคคล(individual marketing)


ที่มา https://jiradabbc.wordpress.com/227-2/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น